What The Weed Cannabis Culture ร้านกัญชา พุทธมณฑล สาย 4 ( สายเขียว )
ร้านกัญชา พุทธมณฑลสาย 4 - กัญชา เป็นพืชในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศอบอุ่น เช่น เอเชีย, อเมริกาใต้ และตะวันออกกลาง ในประวัติศาสตร์มี รายงานการใช้ประโยชน์จากกัญชายาวนานกว่าสี่พันปี ใช้เพื่อการผ่อนคลาย รวมถึงใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ บรรเทาโรคต่างๆต้นกำเนิดการใช้กัญชา
ก่อนที่จะมีกระแสกัญชาฟีเว่อร์ มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์จาก “กัญชา” มาช้านาน เริ่มจากใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แล้วหลังจากนั้นจึงเรียนรู้ที่จะใช้กัญชาเพื่อนันทนาการ คาดว่ากัญชามีถิ่นกำเนิดในเอเชียกลางหรือจีนตะวันตก หลังจากนั้นมีการกระจายจากจีนไปทั่วโลกผ่านการค้าขาย และอพยพย้ายถิ่นของประชากร มีหลักฐานพบว่าเมื่อ 4,800 ปีก่อน ชาวจีนมีการนำกัญชามาชงเป็นชา โดยได้บรรยายสรรพคุณเป็นหลักฐานเอาไว้ในตำรับยาจีนสมัยโบราณกาล ต่อมาได้พบหลักฐานอีกว่า 2,500 ปีก่อน ชาวจีนยังนำกัญชามาใช้เพื่อประกอบพิธีเกี่ยวกับเทพเจ้า และยังพบการใช้กัญชาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในกลุ่มชาวอาหรับโบราณ ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ในกลุ่มชาวอินเดีย และเสพเพื่อความบันเทิงในกลุ่มชาวไซเธียน รวมถึงชาวกรีกและโรมันอีกด้วย ประเทศไทยเองก็ได้รับการถ่ายทอดความรู้จากอารยธรรมจีน อินเดีย และมีการนำกัญชามาใช้ตั้งแต่สมัยอยุธยา ในฐานะสมุนไพร โดยถูกระบุไว้ในตำราแพทย์แผนไทย อย่างตำราโอสถพระนารายณ์ และตำราอื่น ๆ ว่าเป็นส่วนผสมที่ช่วยให้ผ่อนคลายในตำรับยาบรรเทาอาการเจ็บปวด นอนไม่หลับ เป็นต้นส่วนไหนของกัญชาที่มีสารออกฤทธิ์
ลักษณะของกัญชาในทางพฤษศาสตร์จัดเป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นตั้งตรง หากปลูกในโรงเรือนจะมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้มีช่อดอกจำนวนมากโดยความสูงประมาณ 1.5 – 2.0 ม. แต่หากอยู่ในธรรมชาติจะสูงได้มากกว่า 3 ม. มีเปลือกต้นสีเขียวอมเทาและมีหลายกิ่ง ใบเป็นใบเดี่ยวรูปฝ่ามือ เรียงแบบสลับ ประกอบด้วย 5 – 7 ใบย่อย แต่ละใบย่อยเป็นรูปยาวรีกว้าง 0.3 – 1.5 ซม. ยาว 6 -10 ซม. ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบด้านบนสีเข้มกว่าด้านล่าง ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ช่อดอกแบบแขนง บานจากล่างขึ้นบน ดอกมีขนาดเล็ก ดอกเพศผู้มีกลีบรวม 5 กลีบแยกและเกสรเพศผู้ 5 อัน ดอกเพศเมียมีกลีบรวมเชื่อม 1 ชิ้น ก้านเกสรเพศเมีย 1 อัน ก้านชูเกสร 2 เส้น ผลแห้งเมล็ดล่อน เล็กและเรียบ สีน้ำตาล จากส่วนต่าง ๆ ของกัญชาที่กล่าวมาทุกส่วนล้วนมีสาร THC และ CBD แต่จะ มีมากเป็นพิเศษในช่อดอกกัญชาเพศเมีย บนดอกจะมีส่วนที่เรียกว่า “ไตรโคม” เป็นขนสีขาวบนดอกกัญชาและใบลดรูป ทำหน้าที่สะสมสารสำคัญ เมื่อส่องดูใต้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายไม่ต่ำกว่า 100 เท่า พบว่าเซลล์ขนประกอบด้วยรยางค์ผิวแบบมีต่อม (glandular trichome) และมีก้านชู ปลายมีกระเปราะคล้ายลูกแก้วสีใส ซึ่งเมื่อมีความสมบูรณ์เต็มที่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นจนถึงสีอำพัน ทั้งนี้กัญชาแต่ละพันธุ์ก็จะมีขนาดและลักษณะช่อดอก รวมถึงปริมาณ THC และ CBD มากน้อยต่างกันไปด้วย ร้านกัญชา พุทธมณฑลสาย 4 มีกัญชาหลากหลายสายพันธุ์ให้เลือกสรร และมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกัญชา ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันกัญชา , weed นานาพันธุ์ ให้เลือก ผ่านการคัดกรองอย่างมีคุณภาพสดจากฟาร์มสายพันธุ์กัญชาที่พบในประเทศไทย และศักยภาพที่จะนำมาใช้เป็นกัญชาทางการแพทย์
สำหรับกัญชาสายพันธุ์ที่พบในประเทศไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิษุวัต สงนวล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชีรา วิบูลย์จันทร์ และนางสาววันดี อินตะ นักศึกษาปริญญาเอกสาขาพฤกษศาสตร์ ทีมนักวิจัยจากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ศึกษาทางด้านสัณฐานวิทยาของกัญชา ภายใต้โครงการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พิจารณาลักษณะ ใบ ดอก ผล ศึกษากัญชาไทยไปแล้ว 4 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์หางกระรอกภูพานเอสที 1, พันธุ์หางเสือสกลนครทีที 1, พันธุ์ตะนาวศรีก้านขาวดับเบิลยูเอ 1 และพันธุ์ตะนาวศรีก้านแดงอาร์ดี 1 ประกอบกับผลการวิจัยจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ที่ทำการศึกษาทางด้านเคมี และข้อมูลทางด้านสารพันธุกรรม โดยเทียบกับสารพันธุกรรมของกัญชาสายพันธุ์ไทยกับฐานข้อมูลของกัญชาทั่วโลกพบว่า กัญชาพันธุ์ไทยถือเป็นพันธุ์หายากและพบได้มากบริเวณเทือกเขาภูพาน จังหวัดสกลนคร และบริเวณเทือกเขาตะนาวศรี คาดว่ากัญชาพันธุ์ที่พบในประเทศไทยน่าจะถูกนำมาจากทางจีนตอนใต้ และมีการนำไปแยกปลูกในต่างพื้นที่ทำให้มีความหลากหลายทั้งลักษณะสัณฐานวิทยา และปริมาณสารสำคัญที่ได้ โดยแต่ละพันธุ์มีลักษณะพิเศษ ดังนี้ พันธุ์หางกระรอกภูพานเอสที 1 มีช่อดอกใหญ่และเรียงกันแน่นเป็นพวงทรงสามเหลี่ยมคล้ายหางกระรอก ให้สาร THC และ CBD ในสัดส่วน 1:1 ได้ในปริมาณมาก จึงเป็นพันธุ์ที่มีการศึกษาวิจัยในทางการแพทย์มากที่สุด มีกลิ่นเฉพาะตัวหอมคล้ายมะม่วงสุก และไม่มีกลิ่นฉุน ก้านคล้ายกับพันธุ์ตะนาวศรีก้านขาว พันธุ์หางเสือสกลนครทีที 1 มีช่อดอกเล็กและเรียวยาวเป็นพวงยาวคล้ายหางเสือ ให้สาร THC สูง มีกลิ่นเฉพาะตัวหอม คล้ายเปลือกส้ม และมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย พันธุ์ตะนาวศรีก้านขาวดับเบิลยูเอ 1 มีช่อดอกจำนวนมาก การเรียงตัวเป็นแบบทรงกระบอกกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง ทรงต้นที่เป็นพุ่ม ให้สาร THC สูง มีกลิ่นที่เฉพาะตัวหอมคล้ายเปลือกส้มผสมกลิ่นตะไคร้ กลิ่นฉุนน้อยกว่าพันธุ์หางเสือสกลนครทีที 1 พันธุ์ตะนาวศรีก้านแดงอาร์ดี 1 มีช่อดอกจำนวนมากเช่นเดียวกับพันธุ์ตะนาวศรีก้านขาวดับเบิลยูเอ 1 แตกต่างกันที่กิ่ง ก้าน และก้านใบ เป็นสีแดง ให้สาร CBD สูง มีกลิ่นหอมหวานคล้ายกลิ่นผลไม้สุกไม่มีกลิ่นฉุน ด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวทำให้กัญชาไทยเหมาะกับการนำมาใช้ทางการแพทย์ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ของแต่ละโรคนั่นเอง และทั้งหมดนี้ ก็คือสายพันธุ์กัญชาในไทยที่จดทะเบียนรับรองเรียบร้อยแล้ว ทุกส่วนของกัญชาเป็นที่รู้กันว่านำมาสกัดเป็นยารักษาโรคได้ ไม่ว่าจะเป็น ลำต้น ใบ เมล็ด อย่างไรก็ตามมีข้อสำคัญที่ต้องคำนึง คือ การใช้งาน ต้องปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ใช้เองโดยพละการ มีผู้ดูแลใกล้ชิด และไม่อยู่ระหว่างขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักร ทำงานในที่สูง หากพบอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ให้รีบพบแพทย์- หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ เจ็บหน้าอก เหงื่อแตก ตัวสั่น
- หายใจไม่สะดวก อึดอัด
- เดินเซ พูดไม่ชัด หูแว่ว เห็นภาพหลอน พูดคนเดียว
กลุ่มคนที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเกี่ยวกับการใช้กัญชา ได้แก่
- หญิงตั้งครรภ์หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร
- ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรคจิตเภท
- ผู้ที่อยู่ระหว่างรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- ผู้ป่วยโรคตับ โรคไตขั้นรุนแรง
- มีประวัติแพ้สารสกัดกัญชา