Sawadee Sativa Dispensary - Weed Gunja Cannabis & Marijuana
weed - Sawadee Sativa Dispensary
มีกัญชาหลากหลายสายพันธุ์ให้เลือก และมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกัญชา ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันกัญชา weed นานาพันธุ์ ให้เลือก ผ่านการคัดกรองอย่างมีคุณภาพสดจากฟาร์ม weed วันนี้ทาง Sawadee Sativa Dispensary
จะแนะนำสายพันธุ์กัญชาไทยที่ได้ผ่านการรับรองในไทยให้กับทุกคนได้รู้จัก และรู้ถึงลักษณะของต้นกัญชาแต่ละพันธุ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
กัญชาพันธุ์ไทย ถือเป็น พันธุ์หายากและพบได้มากบริเวณเทือกเขาภูพาน จังหวัดสกลนคร และบริเวณเทือกเขาตะนาวศรี คาดว่ากัญชาพันธุ์ที่พบในประเทศไทยน่าจะถูกนำมาจากทางจีนตอนใต้ และมีการนำไปแยกปลูกในต่างพื้นที่ทำให้มีความหลากหลายทั้งลักษณะสัณฐานวิทยา และปริมาณสารสำคัญที่ได้ โดยแต่ละพันธุ์มีลักษณะพิเศษ ซึ่งมีสายพันธุ์ดังต่อไปนี้
สายพันธุ์กัญชาที่จดทะเบียนรับรองในไทย ได้แก่
1. พันธุ์ตะนาวศรีก้านขาว
มีลักษณะของช่อดอกจำนวนมาก แน่นเป็นกระจุกบริเวณปลายกิ่ง ลำต้นเป็นทรงพุ่ม มีกลิ่นหอมคล้ายเปลือกส้มผสมตะไคร้
2. พันธุ์ตะนาวศรีก้านแดง
มีลักษณะของช่อดอกที่คล้ายกับพันธุ์ตะนาวศรีก้านขาว แต่จะต่างกันคือมีสีแดงที่กิ่ง ก้าน และใบ ไม่มีกลิ่นฉุน มีกลิ่นหอมคล้ายผลไม้สุก
3. พันธุ์หางเสือ
มีลักษณะของช่อดอกยาวคล้ายหางเสือตามชื่อ กลิ่นหอมคล้ายเปลือกส้ม และฉุนเล็กน้อย
4. พันธุ์หางกระรอก
สายพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ไทยสติ๊ก ได้ชื่อว่าเป็นสายพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลก เพราะมี สาร THC ที่สูงมาก ประมาณ 20%
และทั้งหมดนี้ก็คือสายพันธุ์กัญชาในไทยที่จดทะเบียนรับรองเรียบร้อยแล้ว ทุกส่วนของกัญชาเป็นที่รู้กันว่านำมาสกัดเป็นยารักษาโรคได้ ไม่ว่าจะเป็น ลำต้น ใบ เมล็ด อย่างไรก็ตามมีข้อสำคัญที่ต้องคำนึง คือ การใช้งาน ต้องปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ใช้เองโดยพละการ มีผู้ดูแลใกล้ชิด และไม่อยู่ระหว่างขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักร ทำงานในที่สูง หากพบอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ให้รีบพบแพทย์
- หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ เจ็บหน้าอก เหงื่อแตก ตัวสั่น
- หายใจไม่สะดวก อึดอัด
- เดินเซ พูดไม่ชัด หูแว่ว เห็นภาพหลอน พูดคนเดียว
กลุ่มคนที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเกี่ยวกับการใช้กัญชา ได้แก่
- หญิงตั้งครรภ์หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร
- ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรคจิตเภท
- ผู้ที่อยู่ระหว่างรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- ผู้ป่วยโรคตับ โรคไตขั้นรุนแรง
- มีประวัติแพ้สารสกัดกัญชา
แม้ว่าปัจจุบัน ประเทศไทยจะอนุญาตให้ปลูกตามบ้านได้แล้ว โดยสามารถใช้ส่วนประกอบของพืช ยกเว้น ช่อ ดอก ยาง น้ำมัน ในการทำอาหาร ซึ่งถือเป็นส่วนที่ห้ามใช้เนื่องจากมีสารเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อระบบสมองและหลอดเลือด การนำส่วนใดส่วนหนึ่งของกัญชา กัญชง ไปสกัดเพื่อให้ได้สาร THC หรือ Tetrahydrocannabinol ยังคงต้องแจ้งขออนุญาตผลิตสกัดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด (ยกเว้นการสกัดจากเมล็ด) โดยสารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2% จะได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ
การเตรียมสารสกัดที่มีปริมาณสารสำคัญสูง และควบคุมคุณภาพสารสกัดให้ได้มาตรฐานสากล รวมถึงด้านพิษวิทยาของ “กัญชา” ทั้งในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง เพื่อเป็นข้อมูลส่งเสริมการใช้ “กัญชา” และประเมินความปลอดภัยของ “กัญชา” เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสารสกัด “กัญชา”
กัญชาและกัญชง มีทั้งประโยชน์และโทษ เราควรทำความเข้าใจถึงประโยชน์และโทษในการบริโภค ระมัดระวังในการใช้ความร้อนในการปรุงเพื่อนำมาบริโภค และควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะมีประโยชน์ในทางการแพทย์
ประโยชน์ของกัญชา
การใช้กัญชาเพื่อบรรเทาหอบหืด ยาแก้หอบหืดทุกตัวมีข้อเสียคือมีข้อจำกัด ทั้งประสิทธิภาพและผลข้างเคียง เนื่องจากกัญชาขยายหลอดลมและลดการหดตัวของหลอดลม
การใช้กัญชาในการรักษาต้อหิน คือ การรักษาตาต้อหิน ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับสองที่ทำให้ คนตาบอดในสหรัฐ คนอเมริกาเกือบล้านที่ป่วยด้วยต้อหินที่รักษาได้ด้วยกัญชา กัญชาทำให้ความดัน ภายในลูกนัยน์ตาลดลงได้ดีหลายชั่วโมงในคนปกติและในคนที่ความดันลูกนัยน์ตาสูงจากต้อหิน การให้กัญชาทางปากหรือทางหลอดเลือดดำให้ผลเหมือนกัน ซึ่งขึ้นกับชนิดอนุพันธ์กัญชามากกว่า จะเกิดจากฤทธิ์กล่อมประสาทของกัญชา กัญชาไม่ได้รักษาโรคขาด แต่ช่วยยับยั้งการบอดไม่ให้เป็นมากขึ้น เมื่อยาทั่วไปไม่อาจช่วยได้ และการผ่าตัดเป็นเรื่องเสี่ยงเกินไป
อนุพันธ์กัญชามีประโยชน์หลายอย่างในการบำบัดมะเร็ง อาจใช้เป็นสารกระตุ้นความ อยากอาหาร กัญชาจะช่วยชะลอน้ำหนักลดในผู้ป่วยมะเร็ง กัญชายับยั้งการเติบโตของเซลมะเร็งในสัตว์ทดลอง แต่ผลยังไม่เป็นที่สรุป และอนุพันธ์กัญชาอีกชนิดคือ cannabidiol ดูจะทำให้มะเร็งโตเร็วขึ้น บางทีกัญชาเมื่อใช้ร่วมกับยาอื่นอาจเป็นประโยชน์ในการป้องกันการโตของมะเร็ง แต่สิ่งที่กัญชาช่วยได้แน่ในการบำบัดมะเร็งคือการป้องกันการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่รับเคมีบำบัด เกือบครึ่งของผู้ป่วยที่รับยาต้านมะเร็งต้องทุกข์จากการคลื่นไส้อาเจียนอย่างแรง ประมาณร้อยละ 25 ถึง 30 ของผู้ป่วยเหล่านี้ ยาแก้อาเจียนทั่วไปใช้ไม่ได้ผล อาการคลื่นไส้อาเจียนไม่เพียงแต่ ไม่น่าพอใจแต่ยังรบกวนประสิทธิภาพการบำบัดรักษาด้วย การอาเจียนอาจทำให้เกิดการฉีกขาด ของหลอดอาหารและซี่โครงหัก ทำให้ไม่ได้รับอาหารเพียงพอ และสูญเสียน้ำ
กัญชา มีส่วนประกอบทางเคมีที่ สามารถระบุได้มากกว่า 500 ชนิด และสารเคมีที่ พบในกัญชาแต่ละพันธุ์ก็มีความแตกต่างกันออกไป มีการใช้กัญชาสำาหรับนันทนาการทั่วโลกมาเป็น เวลานานนับรุ่นสู่รุ่นและมักมีความเชื่อมโยงกับการก่ออาชญากรรม ซึ่งทำให้ภาพลักษณ์ ของกัญชาทางการแพทย์ ได้รับผลกระทบด้วย
การนำกัญชาไปใช้ทางการแพทย์เกิดความซับซ้อนยิ่งขึ้นไป แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยจำนวนมากทั่วโลกต่างใช้กัญชาในรูปแบบนน้ำมันเพื่อบรรเทา อาการ ในขณะที่มีผู้ป่วยจำนวนไม่มากที่สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยา กัญชาคุณภาพ ซึ่งได้รับจากแพทย์หรือเภสัชกร การเข้าถึงข้อมูลที่น่าเชื่อถือและอิงตามหลักฐานยังคงเป็นอุปสรรคต่อการจ่ายผลิตภัณฑ์ยากัญชาคุณภาพ เพื่อการรักษาโรค หน่วยงานที่ควบคุมเกี่ยวกับการใช้ยามักไม่อนุญาตให้มีการใช้สารแคนนาบินอยด์ ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ในกัญชาเป็นยาที่ใช้รักษาได้ทั่วไป