marijuana - Sawadee Sativa กัญชา ได้รับการปลดล็อกทางกฎหมาย
marijuana กัญชา ได้รับการปลดล็อกทางกฎหมายและได้รับการยอมรับทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย กัญชาได้ถูกปลดล็อกตามพระราชบัญญัติกัญชา-กัญชง ตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา สามารถครอบครอง เพาะปลูก และการจัดจำหน่าย รวมไปถึงการบริโภคได้ ซึ่งการปลดล็อกกัญชาสามารถเพิ่มศักยภาพทางการเกษตรและการท่องเที่ยวได้ ปัจจุบันมีประเทศที่ปลดล็อกกัญชาทั้งหมดและปลดล็อกบางส่วนรวม 69 ประเทศ จาก 193 ประเทศทั่วโลก หรือคิดเป็นสัดส่วน 36% ของทั้งหมด และนั่นคือมูลค่าโอกาสของกัญชาไทยในตลาดโลก กัญชาเป็นพืชในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศอบอุ่น เช่น เอเชีย, อเมริกาใต้ และตะวันออกกลาง ในประวัติศาสตร์มี รายงานการใช้ประโยชน์จากกัญชายาวนานกว่าสี่พันปี เช่น ใช้เป็นอาหารคนหรือสัตว์ ใช้เพื่อการผ่อนคลาย และใช้ทำอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เชือก หรือเสื้อผ้า รวมถึงใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์![](http://www.savecyber.in.th/wp-content/uploads/2024/01/Screenshot-2024-01-17-144955-300x125.png)
![](http://www.savecyber.in.th/wp-content/uploads/2024/01/Screenshot-2024-01-17-153408-300x159.png)
![](http://www.savecyber.in.th/wp-content/uploads/2024/01/Screenshot-2024-01-17-153154-300x300.png)
สายพันธุ์กัญชาที่จดทะเบียนรับรองในไทย ได้แก่ | weed
1. พันธุ์ตะนาวศรีก้านขาว
มีลักษณะของช่อดอกจำนวนมาก แน่นเป็นกระจุกบริเวณปลายกิ่ง ลำต้นเป็นทรงพุ่ม มีกลิ่นหอมคล้ายเปลือกส้มผสมตะไคร้2. พันธุ์ตะนาวศรีก้านแดง
มีลักษณะของช่อดอกที่คล้ายกับพันธุ์ตะนาวศรีก้านขาว แต่จะต่างกันคือมีสีแดงที่กิ่ง ก้าน และใบ ไม่มีกลิ่นฉุน มีกลิ่นหอมคล้ายผลไม้สุก3. พันธุ์หางเสือ
มีลักษณะของช่อดอกยาวคล้ายหางเสือตามชื่อ กลิ่นหอมคล้ายเปลือกส้ม และฉุนเล็กน้อย4. พันธุ์หางกระรอก
สายพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ไทยสติ๊ก ได้ชื่อว่าเป็นสายพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลก เพราะมี สาร THC ที่สูงมาก ประมาณ 20%![](http://www.savecyber.in.th/wp-content/uploads/2024/01/Screenshot-2024-01-17-144935-300x282.png)
- หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ เจ็บหน้าอก เหงื่อแตก ตัวสั่น
- หายใจไม่สะดวก อึดอัด
- เดินเซ พูดไม่ชัด หูแว่ว เห็นภาพหลอน พูดคนเดียว
![](http://www.savecyber.in.th/wp-content/uploads/2024/01/Screenshot-2024-01-17-144913-300x292.png)
กลุ่มคนที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเกี่ยวกับการใช้กัญชา ได้แก่
- หญิงตั้งครรภ์หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร
- ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรคจิตเภท
- ผู้ที่อยู่ระหว่างรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- ผู้ป่วยโรคตับ โรคไตขั้นรุนแรง
- มีประวัติแพ้สารสกัดกัญชา