ทำบุญวันสำคัญด้วยปิ่นโตถวายพระ
ปิ่นโตถวายพระ เริ่มต้นปี 2567 ด้วยการไปวัด ทำบุญ ถวายปิ่นโตพระ เพื่อเป็นสิริมงคล ณ ปัจจุบันการทำบุญมีให้เลือกทำได้อย่างง่ายๆ ไม่ต้องตื่นเช้ามาเตรียมอาหาร ของใช้เองแล้ว ใครไม่มีเวลาก็สามารถทำบุญถวายอาหารพระได้ เพียงแค่เปิดเว็บ armabox.net เลือกอาหารที่ต้องการ และแอดไลน์สั่งได้เลย สะดวกใช่มั้ยหละ?? บอกแล้วว่าทำบุญ ไม่ต้องรอให้ว่าง สมัยนี้สะดวกมาก เพียงแค่กดสั่ง อาม่าบ๊อก ก็จัดเซตปิ่นโตถวายพระให้อย่างเรียบร้อย จะบอกว่าจัดส่งให้ถึงหน้าวัดเลย วันนี้ทางอาม่าบ๊อก มีประวัติของพุทธศาสนามาเล่าให้ฟัง และมาบอกวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ปี 2567 ว่ามีวันสำคัญอะไรบ้าง เราจะได้วางแผนการทำบุญกันแต่เนิ่นๆ วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากในสมัยพุทธกาลพระเจ้าพิมพิสารพระราชาแห่งแคว้นมคธ ได้ทราบเรื่องราวของนักบวชนอกศาสนาประชุมแสดงคำสอนตามความเชื่อทุกวัน 8 ค่ำ 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาสืบเนื่องไปจึงทูลขอพุทธานุญาตจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตตามนั้น พุทธศาสนิกชน จึงถือเอาวันนี้เป็นวันสำคัญ เป็นวันสิริมงคลที่ควรจะเข้าวัดไปทำบุญ ฟังธรรม หรือถือศีล งดเว้นจากการทำบาปทั้งปวงวันขึ้นปีใหม่ ตรงกับวันที่ 1 มกราคม 2567
ทำบุญตักบาตรขึ้นปีใหม่ อวยพรอวยชัยตั้งแต่ต้นปี อีกหนึ่งประเพณีโบราณที่ต่อจากสวดมนต์ข้ามปีแล้ว ก็ต้องมีการทำบุญ ตักบาตร ปิ่นโตถวายพระ ในช่วงเช้าของวันที่ 1 มกราคมของทุกปีด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นการทำบุญต่ออายุให้ตนเองและครอบครัวมีอายุยืนยาว และช่วยในเรื่องของความมั่งคั่ง มั่นคงในการเงินตลอดปี รวมทั้งเป็นการอุทิศส่วนกุศลแก่คนในครอบครัวผู้ล่วงลับไปแล้วอีกด้วย โดยเป็นการนำข้าวสารอาหารแห้ง หรือเป็นอาหารสดก็ได้ นำไปถวายพระสงฆ์ที่วัดใกล้บ้าน หรือใครที่ไม่สะดวกไปวัด แต่มีพระสงฆ์ออกมาเดินบิณฑบาตก็สามารถทำบุญตักบาตรได้เช่นกันวันมาฆบูชา ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567
วันมาฆบูชา ถือเป็นวันพระใหญ่ที่ผู้คนนิยมเข้าวัดไปตักบาตร ทำบุญ หรือเวียนเทียนกันในช่วงหัวค่ำ เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ในวันพระเล็ก ใน 7-8 วันจะมีครั้งหนึ่ง ส่วนวันพระใหญ่จะมีทุกรายปักษ์ คือ 14-15 วันครั้ง เป็นวันเพ็ญเต็มดวง หรือว่าเป็นวันที่พระจันทร์มืดสนิทเนี่ย (แรม 14-15 ค่ำ หรือ ขึ้น 15 ค่ำ) และด้วยวันพระใหญ่ เป็นวันที่พระจะลงโบสถ์ ลงปาติโมกข์กัน ฟังพระองค์หนึ่งเป็นผู้่สวดพระปาติโมกข์ ทบทวนวินัยสงฆ์ทั้ง 227 ข้อ ถือเป็นวันบุญพิเศษ ส่วนญาติโยมแต่โบราณจะเข้าวัดเข้าวา ตั้งใจถือศีล ฟังธรรมเป็นพิเศษ เป็นวันที่มาชำระตัวเองให้บริสุทธิ์ด้วยศีล ด้วยทาน การฟังธรรม ปฏิบัติธรรมกัน ซึ่งพระสงฆ์ก็มาชำระวินัยตัวเองให้บริสุทธิ์ด้วยวันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันที่ 20 กรกฎาคม 2567
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับ วันเพ็ญ เดือน ๘ ก่อนปุริมพรรษา (ปุริมพรรษาเริ่ม ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ในปีที่ไม่มีอธิกมาสเป็นต้นไป ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ๑ วัน เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ เทศน์กัณฑ์แรก ชื่อว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมือง พาราณสี ในปีแรกที่ทรงตรัสรู้และเพราะผลของพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้เป็นเหตุให้ท่าน พระโกณฑัญญะในจำนวนพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้ธรรมจักษุ (โสดาปัตติมรรค หรือ โสดาปัตติมรรคญาณ คือญาณที่ทำให้สำเร็จเป็นโสดาบัน) ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญา รู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไป เป็นธรรมดา แล้วขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระองค์ เป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกของ พระพุทธศาสนา และทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์วันเข้าพรรษา ตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม 2567
วันเข้าพรรษา จัดเป็นพิธีกรรมของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา โดยท่านต้องประพฤติปฏิบัติตามพระพุทธบัญญัติ (ข้อที่ตั้งขึ้นให้รู้ทั่วกันการกำหนดเรียก การวางเป็นกฎข้อบังคับ) ที่ทรงวางเป็นระเบียบข้อบังคับให้พระสงฆ์ต้องเขาจำพรรษาในสถานที่ที่ทรงอนุญาตให้เข้าอาศัยอยู่ได้ และพิธีกรรมวันเข้าพรรษานี้ พุทธศาสนิกชนได้มีส่วนร่วมประกอบคุณงามความดีตามหน้าที่ของชาวพุทธ เพื่อช่วยเหลือพระสงฆ์อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งมีประวัติที่น่าสนใจวันเข้าพรรษา เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ เรียกว่า ครบไตรมาส คือ ๓ เดือนนี่เป็นการเข้า "พรรษาต้น"ส่วนการเข้า"พรรษาหลัง"เริ่มตั้งแต่วันแรมค่ำ ๑ เดือน ๙ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒วันออกพรรษา ตรงกับวันที่ 17 ตุลาคม 2567
วันออกพรรษา เป็นวันที่พุทธบริษัททั้งชาววัดและชาวบ้าน ได้พร้อมใจกันกระทำบุญกุศลต่าง ๆ ปิ่นโตถวายพระ ตามคติประเพณีที่เคยประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาแต่โบราณกาล เช่นมีการตักบาตรเทโว หรือเรียกตักบาตรดาวดึงส์ เป็นต้น "วันออกพรรษา" มีสาเหตุเนื่องมาจาก "วันเข้าพรรษา" ที่มีมาแล้วเมื่อวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ อันเป็นวันที่พระภิกษุทั้งหลายอธิษฐานใจเข้าอยู่พรรษาครบไตรมาส คือ ๓ เดือน ตามพระพุทธบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมค้างคืนนอกสถานที่ที่ท่านตั้งใจอยู่ไว้ เมื่อมีวันเข้าพรรษาก็จำเป็นต้องมีวันออกพรรษา ซึ่งวันออกพรรษา ซึ่งวันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ (เพ็ญเดือน ๑๑) ของทุกปี วันออกพรรษา เป็นวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ หมายถึงพระภิกษุสงฆ์ได้จำพรรษาครบกำหนดไตรมาส ตามพระพุทธบัญญัติแล้ว ท่านมีสิทธิ์ที่จะจาริกไปพักค้างคืนที่อื่นได้ ไม่ผิดพระพุทธบัญญัติและยังได้รับอานิสงส์ (ผลดี) คือ ๑.ไปไหนไม่ต้องบอกลา ๒.ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด ๓. ลาภที่เกิดขึ้นแก่ท่านมีสิทธิ์รับได้ ๔. มีโอกาสได้อนุโมทนากฐินและได้รับอานิสงส์คือได้รับการขยายเวลาของ อานิสงส์นั้นออกไปอีก ๔ เดือน อนึ่ง มีชื่อเรียกวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่งว่า " วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา" มีความหมายว่าพระภิกษุทั้งหลายทั้งพระผู้ใหญ่และพระผู้น้อยต่างเปิดโอกาสอนุญาตแก่กันและกัน ให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้มีคำกล่าวปวารณาเป็นภาษาลี ว่า "สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ" แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี
เซตถวายพระ (คละได้ 4 เซต)
(ทำบุญ1) ข้าวหอมมะลิ+คะน้าหมูกรอบ+ปลากะพงทอดน้ำปลา+ครองแครง+น้ำเก๊กฮวย บรรจุด้วยถุงทองพร้อมติดโบว์ (ทำบุญ2) ข้าวหอมมะลิ+ปลากะพงทอดกระเทียม+หมูทอดน้ำปลา+ครองแครง+น้ำเก๊กฮวย บรรจุด้วยถุงทองพร้อมติดโบว์ (ทำบุญ3) ข้าวหอมมะลิ+ผัดผักรวมมิตร (เจ) +ไข่เจียวไช่โป้ว+ครองแครง+น้ำเก๊กฮวย บรรจุด้วยถุงทองพร้อมติดโบว์ (ทำบุญ4) ข้าวหอมมะลิ+ลาบหมู+ต้มแซ่บ+ครองแครง+น้ำชามะนาว บรรจุด้วยถุงทองพร้อมติดโบว์ (ทำบุญ5) ข้าวหอมมะลิ+คั่วกลิ้งไก่ปักษ์ใต้+เห็ดออรินจิคั่วเกลือ+ครองแครง+น้ำชามะนาว บรรจุด้วยถุงทองพร้อมติดโบว์ (ทำบุญ6) ข้าวหอมมะลิ+กะพงทอดน้ำปลา + เห็ดออรินจิคั่วเกลือ+ครองแครง+น้ำชามะนาว บรรจุด้วยถุงทองพร้อมติดโบว์ (ทำบุญ7) ข้าวหอมมะลิ+กะพงผัดขึ้นฉ่าย + กะเพราทะเล+ครองแครง+น้ำชามะนาว บรรจุด้วยถุงทองพร้อมติดโบว์ (ทำบุญ8) ข้าวหอมมะลิ+กะพงสามรส(น้ำจิ้ม)+กะหล่ำปลีทอดน้ำปลา+ครองแครง+น้ำชามะนาว บรรจุด้วยถุงทองพร้อมติดโบว์ (ทำบุญ9) ข้าวหอมมะลิ+หมูทอดเปรี้ยวหวาน+กะเพราหมูยอ+ครองแครง+น้ำชามะนาว บรรจุด้วยถุงทองพร้อมติดโบว์ (ทำบุญ10) ข้าวหอมมะลิ + หอยลายผัดพริกเผา + หมูทอดน้ำปลา+ครองแครง+น้ำชามะนาว บรรจุด้วยถุงทองพร้อมติดโบว์ เลือกเซตทำบุญผ่านทางหน้าเว็บ ง่ายๆกับการทำบุญวิถีใหม่ (New Normal) ที่สะดวก ดูดี อร่อย ถูกหลักอนามัย อาหารเลี้ยงพระเดลิเวอรี่ เซตเลี้ยงพระ ชุดอาหารคาวหวานราคาประหยัด แค่อธิษฐาน ถวายได้ทันที อาหารบรรจุในถ้วยมีฝาปิดมิดชิด สะอาดปลอดภัย ไม่ต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ จานชาม สะดวก สบาย ประหยัดเวลาเจ้าภาพ สามารถถวายภัตตาหารพระสงฆ์ ทั้งห่อได้ ไม่ต้องแกะห่อ สามารถประเคนถวายทั้งชุด